เว็บไซต์ของบริษัทมีการใช้งานคุกกี้ (cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเพื่อนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงต่อความสนใจของคุณมากที่สุด คุณสามารถตั้งค่าการใช้งานคุกกี้เพื่อปรับแต่งการใช้งานคุกกี้ให้ตรงต่อความต้องการของคุณ หากคุณกดยอมรับการใช้งานคุกกี้ทั้งหมด
บริษัทจะเก็บรวบรวมและใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์พฤติกรรมและนำเสนอสิทธิประโยชน์ให้แก่คุณ
คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของบริษัทได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้

ทำความเข้าใจ Blockchain แต่ละ Layer คืออะไรกันแน่

3 ธ.ค. 67
3
Orbix INVEST Team
Blockchain
banner image
ก่อนเราจะอธิบายเรื่อง Layer เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่า ว่า Blockchain นั้นเกี่ยวข้องกับคริปโทอย่างไร?

คริปโทเคอร์เรนซีอย่าง Bitcoin, Ethereum หรือเหรียญดิจิทัลใดๆก็ตาม ทำงานอยู่บนระบบที่เรียกว่า Blockchain ซึ่งเจ้า Blockchain ก็คือเครือข่ายจัดเก็บรายการธุรกรรมออนไลน์ ที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางอย่างเช่นสถาบันการเงิน 
ข้อมูลจะถูกกระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องซึ่งทุกคนจะเก็บข้อมูลชุดเดียวกัน ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคนอื่นๆ จึงมีความปลอดภัยมากกว่าระบบแบบมีตัวกลาง
.
ซึ่งเครือข่ายของ Blockchain ก็ได้มีวิวัฒนาการเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของมันเอง โดยแบ่งออกเป็น 3 Layer ด้วยกัน

🟩Blockchain Layer 0 “โครงสร้างพื้นฐาน”
เป็น Layer ที่มีหน้าที่เชื่อมแต่ละ*โปรโตคอลให้ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น โดย Layer นี้จะประกอบไปด้วยโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เซิร์ฟเวอร์ คลังข้อมูล เป็นต้น
ตัวอย่าง Blockchain Layer 0: Cosmos, Axelar, Polkadot
*โปรโตคอล เป็นเหมือนภาษาที่ใช้สื่อสารภายในเครือข่าย ให้แต่ละส่วนสามารถเชื่อมต่อกันได้
.
🟩Blockchain Layer 1 “ธุรกรรม”
เป็น Layer ที่เริ่มมีธุรกรรมเกิดขึ้น ผ่านกลไกการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมบนเครือข่าย ซึ่งมีความปลอดภัยสูง แต่เมื่อมีผู้ใช้งานจำนวนมาก เครือข่ายที่มีอยู่จึงไม่สามารถรองรับได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้การประมวลผลช้าลง ทำให้แต่ละธุรกรรมใช้เวลานาน และมีค่าธรรมเนียมที่แพงขึ้น
ตัวอย่าง Blockchain Layer 1: Bitcoin, Ethereum, Cardano
🟩Blockchain Layer 2 “เพิ่มประสิทธิภาพ” 
จากข้อจำกัดที่มีบน Layer 1 ตัว Blockchain ก็ได้พัฒนาเป็น Layer 2 เพื่อช่วยให้การประมวลผลทำได้รวดเร็วขึ้น เหมือนเป็นการขยายถนน ให้รถวิ่งได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเทคโนโลยีอย่าง Optimistic Rollup 
ที่เป็นการเอาธุรกรรมบน Layer 1 มาประมวลผลบน Layer 2 เสร็จแล้วก็จะส่งกลับไปบันทึกข้อมูลบน Layer 1 ทำให้ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมได้เร็วขึ้น ซึ่งก็ส่งผลให้ค่าธรรมเนียมถูกลงตามไปด้วยเช่นกัน
ตัวอย่าง Blockchain Layer 2: Optimism, Arbitrum 
🟩Blockchain Layer 3 “แอปพลิเคชัน” 
Layer สุดท้ายนี้ คือ Layer แอปพลิเคชัน ที่คนสามารถเข้ามาใช้งาน *แอปพลิเคชันกระจายศูนย์ (Decentralized Application) ได้ ซึ่งทำงานผ่าน *Smart Contract ที่คอยเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่อยู่ใน Layer อื่นๆก่อนหน้า

*Decentralized Apps (DApp) คือ แอปพลิเคชันที่เปิดให้ผู้พัฒนาหรือผู้ใช้งานเข้ามาสร้างหรือใช้งานอย่างอิสระ ไม่ได้ถูกควบคุมจากองค์กรใดๆ 

*Smart Contract คือ สัญญาอัจฉริยะที่ถูกตั้งค่าให้ทำงานอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขที่ระบุไว้ 
ช่วยลดขั้นตอนเอกสาร และไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง 
ตัวอย่าง Blockchain Layer 3: Uniswap, Compound, Pancake Swap, Decentraland 

จะเห็นว่า Blockchain แต่ละ Layer มีจุดเชื่อมโยงและเป็นพื้นฐานซึ่งกันและกัน 
เพื่อจุดประสงค์หลักคือต้องการพัฒนาเครือข่ายให้สามารถรองรับการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 
และสุดท้ายก็จะเป็นผลดีกับผู้ใช้งานเอง ที่จะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีทั้งหมดนี้ในเวอร์ชันที่ดียิ่งๆขึ้นไป

*คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

บทความล่าสุดอื่นๆ

รวม 5 ตัวพ่อ วงการคริปโต
รู้ไว้ใช่ว่า…พารู้จัก 5 ตัวพ่อ ที่มีอิทธิพลต่อวงการคริปโต ทุกครั้งที่พวกเขาเหล่านี้ออกมาขยับตัวหรือแสดงความคิดเห็นอะไร มักจะมีผลต่อตลาดคริปโตตามมาเสนอ เพื่อนรู้จัก ๆ คนไหนกันบ้าง? หรือมีใครที่เป็นตัวพ่อในวงการนอกเหนือจากนี้ มาแชร์กันได้นะ
8 ธ.ค. 67
3
Knowledge
Solana เดินหน้าสู่อนาคตสดใสที่รออยู่
Solana เป็นบล็อกเชนที่ขึ้นชื่อเรื่องความเร็วสูง เป็นหนึ่งในระบบบล็อกเชนที่มีความเร็วสูงสุดในตลาดคริปโต สามารถประมวลผลธุรกรรมหลายพันรายการต่อวินาที ถือเป็นข้อดีที่ทำให้โดดเด่นท่ามกลางบล็อกเชนอื่น ๆ
25 พ.ย. 67
3
BlockchainKnowledge
เจาะแนวคิด Moat สไตล์ Elon Musk ป้องกันธุรกิจให้แกร่ง เหนือคู่แข่งแบบยั่งยืน
หลายคนอาจยังไม่คุ้นชินกับคำนี้มากนั้น จริง ๆ แล้ว Moat ก็คือป้อมปราการของบริษัท กล่าวง่าย ๆ คือเป็นคุณสมบัติใดก็ตามที่ทำให้ธุรกิจนั้นๆ ยังคงแข็งแกร่งอยู่ได้ แม้จะเริ่มมีคู่แข่ง หรือแม้แต่รายล้อมไปด้วยคู่แข่งแล้วก็ตาม Moat คือปัจจัยที่ทำให้บริษัทยังคงเติบโตได้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนาน และยากที่คู่แข่งจะเอาชนะได้ จึงนับว่าเป็นหนึ่งสิ่งที่นักลงทุนใช้เป็นตัวชี้วัดในการดูว่าธุรกิจนี้มีความแข็งแกร่ง และเติมโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต
25 พ.ย. 67
3
Knowledge
ดูบทความทั้งหมด

Orbix INVEST

Strategist for Kryptonian

apply storegoogle store

ดาวน์โหลดแอปเพื่อเริ่มลงทุนได้แล้ววันนี้

mobile
orbix
orbix